วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Storyboard

ฉากที่ 1 สมาชิกกลุ่มกล่าวทักทาย และแนะนำตัว พร้อมกับพูดหัวข้อเรื่อง
กุลธิดา : สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวกุลธิดา หอมนาน
กุลจิรา : สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวกุลจิรา บรรจง
อรพิน : สวัสดีค่ะ ดิฉันอรพิน ปั๋นจอม
กุลธิดา : วันนี้กลุ่มของพวกเราจะมานำเสนอประเพณีและวัฒนธรรม โดยที่พวกเรายกตัวอย่างหัวข้อที่จะมานำเสนอคือ ประเพณีวันลอยกระทง ค่ะ

ฉากที่ 2 ตัวแทนกลุ่มเล่าประวัติวันลอยกระทง
วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง
ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน
ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม
เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย
ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือนยี่ถ้านับตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลางคืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง
กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัดเพื่อเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง
ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี
ฉากที่ 3 สาธิตวิธีการทำกระทง พร้อมบอกอุปกรณ์ (ถ่ายวิดีโอ)

ฉากที่ 4 ถ่ายภาพบรรยากาศงานลอยกระทง

ฉากที่ 5 สมาชิกกลุ่มช่วยกันปล่อยโคมลอย และ ลอยกระทงของตัวเอง

THE END




วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

การทำงานของพยาบาล

ชื่ออาชีพ พยาบาล-Nurse
นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติพยาบาล-Nurse ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาล และดูแลผู้ป่วยทั้งทางกายและจิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือทุพพลภาพ รักษาและป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ วางแผนและให้บริการด้านพยาบาล และทำหน้าที่ช่วยแพทย์ ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล
ลักษณะของงานที่ทำ
รักษา ดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาล เป็นผู้ช่วยแพทย์ โดยการสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการของคนไข้ตามลักษณะโรคที่เป็นทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคนไข้ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใดๆ ที่อาจเกิด จากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้ มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ และประชาชนทั่วไปให้รู้จักการดูแลและส่งเสริมสุขภาพวางแผน มอบหมาย สั่งการ ดูแล และประเมินผลงานของผู้ช่วยพยาบาล และผู้ทำหน้าที่ประสานงาน ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ และอนามัยแขนงอื่นๆ ในการบริการคนไข้
สภาพการจ้างงาน
สำหรับหน่วยงานราชการพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับเงินเดือนอัตรา 6,360 บาท ส่วนพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทได้รับเงินเดือนอัตรา 7,780 บาท และปริญญาเอกได้รับเงินเดือนอัตรา 10,600 บาท
ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนประมาณ 7,000 -7,600 บาท
สำหรับหน่วยงานเอกชน พยาบาลที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนขั้นต้นประมาณ 13,900 บาท ค่าอยู่เวร เวรละ 250 บาท ซึ่งจะมีรายได้เฉลี่ยจากค่าอยู่เวรประมาณเดือนละ 2,500 - 3,000 บาท ซึ่งพยาบาลเอกชนจะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 16,000 บาทมีสวัสดิการที่พักและสิทธิพิเศษ อื่นๆ ตามเงื่อนไขการตกลงกับผู้ว่าจ้าง
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพพยาบาลโดยปกติทำงานวันละ 8 - 9 ชั่วโมง และมีการเข้าเวรทำงานตามที่กำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติ นอกจากนี้ พยาบาลที่ออกเวรแล้วสามารถหารายได้พิเศษในการรับจ้างเฝ้าไข้ ให้กับคนไข้อีกด้วย
สภาพการทำงาน
ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน สถานพยาบาล(คลีนิค) สถานพักฟื้น สถานฟื้นฟู ดูแลรักษาสุขภาพ สถานสงเคราะห์ เด็ก หรือคนชรา สถานอนุบาลเด็กทารกหรือเด็กก่อนวัยเรียน สถานการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย สถานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สถานีอนามัย/คลีนิคในชุมชนพยาบาลประจำบ้าน หรือส่วนบุคคล เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบพยาบาล-Nurse ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. สำเร็จการศึกษา พยาบาลศาสตร์ต่อเนื่อง หรือพยาบาลศาสตร์
2. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค (อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน)
3. มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4. มีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าในการตัดสินใจ
5. มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
6. มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ
ผู้ที่จะประกอบพยาบาล-Nurse ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้: เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น จะต้องเลือกเรียน/ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทยาศาสตร์) จากนั้นจึงจะทำการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาพยาบาลของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งนี้การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะต้องมีผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ เคมีชีววิทยา ค่อนข้างดีด้วย
โอกาสในการมีงานทำ
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรมากกว่า 62 ล้านคน ความต้องการพยาบาลเพื่อทำการรักษาพยาบาลต้องเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรประกอบกับรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสนใจในสุขภาพของประชาชนทุกเพศทุกวัยได้พยายามขยายบริการออกไปให้ทั่วถึง จึงจำเป็นต้องใช้พยาบาลในการปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก อีกทั้งโรงพยาบาลและสถานพยาบาลของภาคเอกชนได้ขยายตัว มากขึ้น เพื่อบริการประชาชน และหน่วยงานอื่นๆ เช่น สถานประกอบการอุตสาหกรรม สำนักงานประกันภัย บริษัทขายยาและเคมีภัณฑ์ บริษัทขายเครื่องมือแพทย์ ต้องการพยาบาลไปดูแลรักษาพยาบาล หรือให้ คำปรึกษาแนะนำด้านสุขภาพอนามัยแก่พนักงานในสถานประกอบการ หรือให้คำปรึกษาแนะนำ ในการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพพยาบาลสามารถไปประกอบวิชาชีพส่วนตัวได้ เช่น เปิดสถานดูแลเด็กอ่อน เด็กเล็กก่อนวัยเรียนผู้สูงอายุ หรือรับจ้างปฏิบัติงานเลี้ยงเด็กหรือดูแล ผู้สูงอายุ เป็นต้น ดังนั้น แนวโน้มของโอกาสในการมีงานทำของพยาบาล-Nurse ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง จึงสามารถหางานทำได้ ไม่ยากนัก
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นข้าราชการ ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และในสังกัดกระทรวงกลาโหม ได้รับตำแหน่ง และเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้ เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วขึ้นและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ในรัฐวิสาหกิจก็เช่นเดียวกัน ส่วนในโรงพยาบาลภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรหรือสามารถทำธุรกิจส่วนตัวได้ คือเป็นเจ้าของสถานพยาบาล สถานดูแลเด็กอ่อน เด็กก่อนวัยเรียน และผู้สูงอายุ หรือศึกษาต่อเพิ่มเติมจนถึงระดับปริญญาเอก
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ธุรกิจประกันชีวิต นักวิจัยให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น International HIV/AIDS Research Project เจ้าหน้าที่พยาบาลหรือที่ปรึกษาในองค์การระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเป็นเจ้าหน้าที่แนะนำ Product Specialist ให้บริษัทขายยา และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
สาธารณสุขจังหวัดตามภูมิลำเนา โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนีทั่วประเทศ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยพยาบาลพระมงกุฎฯ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศวิทยาลัยพยาบาลทหารเรือ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ตลอดจนโรงพยาบาลสังกัด กทม.(วชิรพยาบาล) และวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณ นอกจากนั้นยังมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย คณะพยาบาลศาตร์(วิทยาเขตหาดใหญ่) สำหรับโรงพยาบาลเอกชนที่มีวิทยาลัยพยาบาล เช่น โรงพยาบาลหัวเฉียว โรงพยาบาลมิชชั่น ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วต้องการทำงาน สามารถค้นหาข้อมูลได้จากหน่วยงานที่ตนศึกษาอยู่ สาธารณสุขจังหวัดสำนักงานจัดหางานจังหวัด เว็บไซต์เอกชนต่างๆหนังสือพิมพ์ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประสบการณ์จากคนเรียนพยาบาล

เรียนพยาบาลดีอย่างไร

ทำไมถึงเลือกเรียนพยาบาล??

คำถามที่มักมีคนถามเสมอ ๆ ตั้งแต่วันสอบสัมภาษณ์ ตอนเข้ามาเรียนพยาบาล ตอนฝึกงานบนหอผู้ป่วย (ward) หรือแม้แต่ตัวฉันเองก็เคยถามคำถามนี้กับตัวเองเหมือนกัน..

ตอนที่สอบสัมภาษณ์จำได้ว่า ตอบไปว่าเพราะพยาบาลเป็นอาชีพที่หางานง่าย รายได้ดี ได้ใช้ความรู้ความสามารถทั้งในการปฏิบัติงานและในชีวิตประจำวัน และก็ยังเป็นอาชีพที่ทำแล้วได้บุญ(อันนี้ท่านแม่บอกมา)

พอเข้ามาเรียน ได้มาสัมผัสกับชีวิตพยาบาลมากขึ้น ก็เริ่มรู้สึกว่าพยาบาลก็ดีนะ รู้อะไรตั้งหลายอย่าง แต่ก่อนคิดว่าพยาบาลคงมีแต่ให้ยา กับให้การพยาบาลเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วพยาบาลมีบทบาทตั้งหลายอย่าง นอกจากจะให้การรักษาพยาบาลแล้ว ยังมีการป้องกันโรค การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ การดูแลด้านจิตสังคม และการคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี

เมื่อพูดถึงพยาบาลหลายคนคงนึกถึงมิสฟลอเรนซ์ไนติงเกล หรือ Lady of the Lamp เธอคือผู้นำให้คนทั้งโลกเห็นถึงความสำคัญของวิชาชีพการพยาบาล เธอยังทำให้หลายคนมองภาพลักษณ์ของพยาบาลในแง่ที่ดีขึ้น และเป็นแบบอย่างลักษณะพยาบาลที่ดีให้แก่พยาบาลรุ่นต่อ ๆมา แต่เธอก็ไม่ใช่พยาบาลคนแรกของโลก เพราะพยาบาลเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เนื่องจากมนุษย์ต้องประสบกับภาวะเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงต้องมีผู้ที่จะให้การดูแลในขณะที่ตนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งหน้าที่ดูแลผู้อื่นที่ดีที่สุด ก็มักเป็น แม่ ที่ให้การดูแลสมาชิกทุกคนในบ้านเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นการพยาบาลจึงเริ่มต้นที่ครอบครัว

การพยาบาลไม่ใช่บริการเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการดูแลครอบครัวผู้ป่วยและดูแลประชาชนในชุมชนด้วย ตอนฉันเด็ก ๆ ฉันเคยได้รับวัคซีน ทั้งฉีดและหยอด ได้รับการตรวจสุขภาพฟันที่โรงเรียน ตลอดจนได้เห็นมีพยาบาลมาทำการอบรมให้ความรู้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพตามสถานที่ต่าง ๆ

นอกจากนี้พยาบาลยังเป็นคนกลางที่จะสื่อความต้องการของผู้ป่วยไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ ครอบครัวผู้ป่วยเอง เพราะพยาบาลมีโอกาสใกล้ชิด ดูแลผู้ป่วยและญาติมากกว่าบุคคลอื่น นอกจากนี้พยาบาลยังเป็นผู้ประสานงานในทีมสุขภาพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลด้วยกันเอง โภชนากร เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ด้วย

และการที่จะไปดูแลผู้อื่นตัวเราเองก็จะต้องมีความรู้ ความสามารถในด้านต่าง ๆดังที่กล่าวมา และมีความชำนาญในด้านสุขภาพ เพื่อที่จะไปดูแลและให้ความรู้แก่บุคคลอื่นได้ ณ จุดนี้เอง เป็นข้อดีของการเรียนพยาบาล เพราะเราจะมีความรู้สามารถนำไปดูแลตัวเราเอง เพราะสุขภาพเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรใส่ใจ ถ้ามีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้น ก็อาจทำให้เกิดมีปัญหาอื่น ๆเช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ตามมาได้ ชีวิตเรานี้หากวันหนึ่งเจ็บป่วยไม่มีใครมาดูแลก็ขอให้สามารถดูแลตนเองได้เถอะค่ะ และจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของโมษณาชวนเชื่อที่อวดอ้างเกินความเป็นจริงได้ ผลดีอีกอย่างคือสามารถดูแลคนในครอบครัวเราหรือคนรอบข้างเรา และคนที่เรารักได้ด้วย โดยส่วนตัวของฉันแม่นี่ดีใจมากพอรู้ว่าลูกติดพยาบาล เป็นความภูมิใจของทางบ้านด้วยค่ะ

แบบประเมินเบื้องต้นก่อนคิดเรียนพยาบาล

คำถาม:
1. คุณมีอารมณ์เศร้า สะเทือนใจทุกครั้งที่พบเห็นผู้คนประสบเหตุลำบาก
A. ใช่ B. ไม่ใช่
2.เพื่อนๆและบุคคลรอบข้างมักพูดว่าคุณช่างเป็นคนมองโลกในแง่ดี
A. ใช่ B. ไม่ใช่
3.คุณชอบดูหนังสือหรือรายการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หรือความเป็นเหตุเป็นผล
A. ใช่ B. ไม่ใช่
4.คุณสังเกตได้ว่ามักมีผู้คนเข้ามาทักทายหรือขอความช่วยเหลือจากคุณทั้งๆที่บางคนคุณเองก็ไม่รู้จัก A. ใช่ B. ไม่ใช่
5.คุณมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงพยายามแก้ปัญหาทุกอย่างด้วยตนเอง
A. ใช่ B. ไม่ใช่
6.คุณเบื่อและหลบหลีกทุกเรื่องที่มีความซับซ้อนยุ่งยากมากกว่าจะคิดเข้าไปแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
A. ใช่ B. ไม่ใช่ C.บางครั้ง
7.ขณะที่คุณกำลังพักผ่อนในสวนสาธารณะคุณพบว่ามีเด็กเล็ก 3-4 คนกำลังส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าววิ่งเล่นซุกซนใกล้ๆคุณ คุณจะทำอย่างไร
A. ลุกขึ้นเดินจากไปด้วยความรู้สึกรำคาญ B. นั่งมองดูเด็กๆเล่นเดี๋ยวก็คงหยุดซุกซนไปเอง
8.ในชีวิตประจำวันของคุณสิ่งที่ขาดไม่ได้มากที่สุดคือ
A. อ่านหนังสือ ติดตามข่าวสาร B.พักผ่อน ฟังเพลง
9.เมื่อคุณผิดหวังเสียใจจากการกระทำบางอย่างที่คุณทำไปด้วยความหวังดีต่อผู้อื่น แต่เขากลับมองไม่เห็นคุณค่า คุณจะทำอย่างไร
A. พูดให้เขารู้สำนึกจะได้ไม่กระทำอย่างนั้นอีก B.วางเฉยพยายามทำความเข้าใจในมุมมองของเรา
10.คุณมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาเป็นพิเศษหรือไม่
A. ใช่ B. ไม่ใช่
11.คุณเป็นคนพูดจาตรงไปตรงมาหรือพูดจาแบบขวานผ่าซากจนเพื่อนๆและผู้ใกล้ชิดสะเทือนใจบ่อยๆหรือไม่
A. ใช่ B. ไม่ใช่
12.คุณเป็นคนรักศักดิ์ศรีไม่ยอมให้ใครมาดูถูกเป็นอันขาด
A. ใช่ B. ไม่ใช่
13.หากคุณมีโอกาสได้ไปฝึกงานโรงพยาบาลคุณจะเลือกงานใด
A. ช่วยวัดปรอทและความดันหิต B. ช่วยทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วย
C. สัมภาษณ์ D. เป็นเพื่อนรับฟังและพูดคุยกับผู้ป่วย
14. ภาพลักษณ์ที่เกี่ยวกับคุณที่เพื่อนๆหรือญาติสนิทมองว่าคุณเป็นคนแบบใด (เลือกได้หลายคำตอบ)
A.ใจดี B.เจ้าระเบียบ C.ขี้โมโห D.รอบคอบ E.เสียสละ F.อดทน
G.รักพวกพ้อง H.บุคลิกดี I. หลบงาน J.เข้มแข็ง K.เลื่อนลอย L.พูดจาดี
M. เรียบง่าย N.ขี้โรค O.สะอาด P.ตื่นสาย Q.ชอบแต่งตัว R.ใจร้อน
S.ทันสมัย T.ไม่ยอมคน U.ทำงานเก่ง V.ขี้เหนียว W.ตรงต่อเวลา X.มีความรับผิดชอบสูง

เฉลย:
1. ใช่=1 ไม่ใช่=0 แสดงถึงความมีเมตตา
2.ใช่=1 ไม่ใช่=0 เป็นคนไม่เก็บกดหรือปล่อยวาง
3.ใช่=1 ไม่ใช่=0 มีเหตุผล ไม่งมงาย
4.ใช่=1 ไม่ใช่=0 บอกถึงลักษระความเป็นมิตรหรือเป็นคนใจดี
5.ใช่=1 ไม่ใช่=0 มีความเป็นผู้นำกล้าตัดสินใจ
6.ใช่=0 ไม่ใช่=1 บางครั้ง=1 เป็นคนสู้งานและมีความรับผิดชอบ
7.ลุกขึ้นเดินจากไป=0 มีความอดทนน้อย /นั่งต่อ มองดูเด็กๆ=1 มีความรักและเข้าใจเด็ก
8.อ่านหนังสือ=1 พักผ่อน=0 พัฒนาตนเองให้ก้าวทันวิทยาการและเหตุการณ์
9.พูดให้รู้สำนึก=0 วางเฉย=1 รู้จักให้อภัย เข้าใจ ยอมรับในความแตกต่างเฉพาะบุคคล
10.ใช่=0 ไม่ใช่ =1 มีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอันจะเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
11.ใช่=0 ไม่ใช่ =1 ต้องคิดถึงจิตใจผู้อื่นระมัดระวังคำพูดใช้วาจาสุภาพ
12.ใช่=0 ไม่ใช่ =1 มีความอดทนต่อสิ่งที่มากระทบเพื่อรักษาความถูกต้องที่ดีงาม
13.สัมภาษณ์ =1 ข้ออื่นๆ=2 เพราะเป็นงานที่พยาบาลต้องทำหรือเกี่ยวข้อง
14.ข้อละ 3 คะแนน
ใจดี เสียสละ สะอาด ทำงานเก่ง ตรงต่อเวลา เจ้าระเบียบ รอบคอบ อดทน เข้มแข็ง รับผิดชอบสูง บุคลิกดี
ข้อละ 2 คะแนน
เรียบง่าย ทันสมัย พูดจาดี
ข้อละ 1 คะแนน
รักพวกพ้อง ชอบแต่งตัว ขี้เหนียว
ข้อละ 0 คะแนน
ขี้โมโห เลื่อนลอย ขี้โรค ตื่นสาย ใจร้อน ไม่ยอมคน หลบงาน

31-45 คะแนน
คุณสามารถประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในวิชาชีพพยาบาลเพราะมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมด้วยความรัก มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ คุณสามารถมีความสุขในชีวิตและงานที่ทำได้อย่างยั่งยืน เป็นพยาบาลที่สังคมต้องการเป็นอย่างยิ่ง

20-30 คะแนน
คุณอาจคิดเพียงเพื่อมาแวะพักในวิชาชีพพยาบาลเพื่อรอหาทางเลือกที่ดีกว่าหรือคุณต้องการเสียสละเพื่อความต้องการของคนที่คุณเคารพรัก คุณจะไม่มีความผูกพันหรือความภาคภูมิใจในวิชาชีพนี้มากนัก แต่ก็ยังคิดว่าคุณก็ทำได้ถึงแม้จะไม่ดีเลิศก็ตาม แต่ก็ยังมีโอกาสประสบความก้าวหน้าและความสุขหากคุณคิดจะจริงจังกับอาชีพนี้

ต่ำกว่า 20 คะแนน
คุณคงหาความสุขและความก้าวหน้าในวิชาชีพนี้ได้ยาก เพราะทัศนคติและบุคลิกส่วนตัว คุณอาจจะเสียเวลาถ้าคิดจะเป็นพยาบาล เว้นเสียแต่ว่าคุณจะกลับไปพิจารณาหัวข้อคำตอบในแบบสอบถามทั้ง 14 ข้ออีกครั้งและคิดว่าพอจะปรับตัวในข้อใดได้บ้าง แต่ต้องพิจารณาตนเองอย่างซื่อสัตย์ไม่เอนเอียง เพราะคำตอบทุกข้อที่บ่งบอกคะแนน คือ แนวทางบอกคุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญของบุคคลที่จะเป็นพยาบาล

หลังจากประเมินตัวเองแล้วถ้าน้องๆที่มุ่งมั่นจะเป็นพยาบาลในอนาคตก็ควรเริ่มหาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการเข้าศึกษาเล่าเรียนในสถาบันทางการพยาบาล และสู้ต่อไปนะคะ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิชาชีพพยาบาล

วิชาชีพพยาบาล

ผู้ปฏิบัติอาชีพนี้ ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาล และดูแลผู้ป่วยทั้งทางกายและจิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือทุพพลภาพ รักษาและป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ วางแผนและให้บริการด้านพยาบาล และทำหน้าที่ช่วยแพทย์ ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล


ลักษณะของงานที่ทำ


รักษา ดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาล เป็นผู้ช่วยแพทย์ โดยการสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการของคนไข้ตามลักษณะโรคที่เป็นทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคนไข้ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใดๆ ที่อาจเกิด จากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้ มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ และประชาชนทั่วไปให้รู้จักการดูแลและส่งเสริมสุขภาพวางแผน มอบหมาย สั่งการ ดูแล และประเมินผลงานของผู้ช่วยพยาบาล และผู้ทำหน้าที่ประสานงาน ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ และอนามัยแขนงอื่นๆ ในการบริการคนไข้


คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ


1. สำเร็จการศึกษา พยาบาลศาสตร์ต่อเนื่อง หรือพยาบาลศาสตร์

2. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค (อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน)

3. มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

4. มีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าในการตัดสินใจ

5. มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

6. มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ


ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้: เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น จะต้องเลือกเรียน/ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทยาศาสตร์) จากนั้นจึงจะทำการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาพยาบาลของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งนี้การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะต้องมีผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ เคมีชีววิทยา ค่อนข้างดีด้วย

การเรียนพยาบาล

การเรียนพยาบาล

ชั้นปีที่1 เทอมที่1 เป็นการเรียนแบบพื้นฐานมากเป็นวิชาที่ช่วยให้เรามีเกรดเฉลี่ยทั้งชั้นปีค่อนข้างสูง การเรียนยังไม่ค่อยมีวิชาคณะ เทอมนี้มีทั้งหมด 19 หน่วยกิต
ได้แก่วิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
ภาษาไทยทางวิชาการ 3 หน่วยกิต
ทักษะการรู้สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
การประยุกต์คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน 3 หน่วยกิต
ชีวิตกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3 หน่วยกิต
กิจกรรมพละศึกษา 1 หน่วยกิต
วิชาชีพการพยาบาล 1 หน่วยกิต(เป็นวิชาคณะเรียนง่ายแต่ ได้Aยากมาก)
และ วิชาเลือกเสรี 2 หน่วยกิต

ชั้นปีที่1 เทอมที่2มีดังนี้
1.ภาษาอังกฤษทางวิชาการ 3หน่วยกิต
2.ทักษะชีวิต 3หน่วยกิต(มาสัมผัสเอง)
3.สารสนเทศทางการพยาบาลขั้นพื้นฐาน 2 หน่วยกิต
4.กายวิภาคศาสตร์สำหรับพยาบาล(อนาโตมี่) 4 หน่วย
5.จุลชีววิทยาสำหรับพยาบาล(microbiology for nurse) 3 หน่วยกิต
6.ชีวเคมีสำหรับพยาบาล(biochemistry for nurse) 3 หน่วยกิต

............................ปีสอง ...............
เทอม1
1.การบำบัดทางการพยาบาล
2.การประเมินภาวะสุขภาพ
3.การพยาบาลสุขภาพผุ้ใหญ่1
4.การพยาบาลสุขภาพเด็ก1
5.ปฎิบัติการพยาาบาล1(ฝึกงานนั่นแหละ สองวันต่อสัปดาห์)
6.ปรสิตวิทยาสำหรับพยาบาล(ภาคต่อmicrobiology)
7.พยาธิวิทยาสำหรับพยาบาล(การเกิดโรค ว่างั้นนน)
8.เภสัชวิทยาสำหรับพยาบาล1

เทอม2
1.ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
2.โภชนศาสตร์และโภชนบำบัด
3.การพยาบาลสุขภาพผู้ใหญ่ 2
4.การพยาบาลสุขภาพผู้สูงอายุ
5.การพยาบาลสุขภาพเด็ก2
6.การพยาบาลสุขภาพจิต
7.ปฏิบัติการพยาบาล2
8.การส่งเสริมสุขภาพ
9.เภสัชวิทยาสำหรับพยาบาล2

ซัมเมอร์ ปี2
1.ภาษาอีงกฤษทางวิชาการ2
2.การสื่อสารทางการพยาบาล

...............................ปี3................
เทอม1
1.การบริหารงานพยาบาล
2.กฏหมายและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
3.การพยาบาลจิตเวช
4.การพยาบาลสุขภาพชุมชน1
5.การผดุงครรภ์1
6.ปฏิบัติการพยาบาล3
7.ภาษาอังกฤษเทคนิคสำหรับพยาบาลศาสตร์
8.วิชาเลือกเสรี

เทอม2....
1.การรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล
2.การวิจัยทางการพยาบาล
3.การพยาบาลสุขภาพชุมชน2
4.การผดุงครรภ์2
5.ปฏิบัติการพยาบาล4

.......ซัมเมอร์
1.ปฏิบัติการพยาบาล5
2.วิชาเลือกเสรี............
.

........................ปีสี่.............
เทอม1....
1.หลักการจัดการสมัยใหม่
2.ปฏิบัติการผดุงครรภ์1(ทำคลอด ว่าซั่นนน)
3.โครงการพยาบาลสำหรับประเด็นปัญหาสุขภาพที่คัดสรร
4.สัมนาวิชาชีพการพยาบาล


เทอมสอง....
1.ปฏิบัติการพยาบาลรวบยอด
2.ปฏิบัติการผดุงครรภ์2
พี่ปี4 จะต้องเตรียมตัวสำหรับสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพด้วยยย ซึ่งใบประกอบวิชาชีพนี้ มีเพียงไม่กี่คณะเท่านั้นที่มี เป็นการบ่งบอกถึง สาขาอาชีพนั้น มีองค์ความรู้ที่ได้รับการจัดการมาอย่างดี เพื่อไม่ให้หน้าที่มีการทับซ้อนกับวิชาชีพอื่น หรือเรียกง่ายๆว่า หน้าที่ใครหน้าที่มัน...แต่ฉันก็รู้หน้าที่เธอนะ....ทำให้การทำงานมีขอบเขตที่ชัดเจนนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่มีใครเป็นลูกน้องใครไม่มีใครเป็นคนใช้ใคร เราทำหน้าที่เสริมกัน และ จึงเปลี่ยนจากคำว่า อาชีพ เป็น วิชาชีพ
มีคณะไหนบ้างที่มีใบประกอบวิชาชีพ
1.คณะแพทย์
2.ทันตะ
3.พยาบาล
4.สัตวแพทย์
5.เภสัช
6.เทคนิคการแพทย์
7.กายภาพบำบัด

ความรู้พยาบาล

อาชีพพยาบาลมีหน้าที่ให้บริการพยาบาลระดับวิชาชีพแก่ผู้ป่วยทางกายหรือทางจิต ผู้ได่รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพ และผู้สูงอายุในสถาบันที่มีการรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ วางแผนและให้บริการด้านพยาบาลสมบูรณ์แบบตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยคำนึงถึงความต้องการของแต่ละคนตามลักษณะของโรคที่เป็น สังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้รายงานให้แพทย์ทราบ การเกิดอาการผิดธรรมดาของร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ซึ่งมีความสำคัญในการวินิจฉัยโรค
จัดให้คนไข้ได้มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกหลักอนามัย เรียบร้อย และปลอดภัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ ครอบครัวคนไข้และประชาชนทั่วไปให้รู้จักรักษาและส่งเสริมสุขภาพอนามัย
จะเข้าศึกษาเป็นพยาบาลต้องสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ แล้วสอบเข้าเรียนต่อที่คณะพยาบาลศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน หลักสูตร 4 ปี สถาบันที่เปิดสอนมี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร